เมื่อไม่นานมานี้ทาง Net Zero X ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสถาปนิกท่านหนึ่ง “คุณวสุ วิรัชศิลป์” จาก Vaslab Architecture กับมุมมองเรื่องงานสถาปัตยกรรมในอนาคตข้างหน้าที่ต้องเตรียมปรับตัวให้เท่าทันกับสถานการณ์สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาด้าน Climate Change ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
และสำหรับบทความพิเศษในตอนนี้จะนำคำถามสัมภาษณ์ของคุณวสุและแบ่งปันถึงแนวคิดต่อมุมมองเรื่องความเป็น Sustainability กับการเลือกใช้วัสดุที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นด้าน Net Zero ที่คาดว่าสถาปนิกและนักออกแบบหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจกันครับ
คุณวสุ วิรัชศิลป์ จาก Vaslab Architecture
Q : นิยามของสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนแบบคุณวสุเป็นอย่างไรครับ?
คุณวสุ : สำหรับผมเองจะมองเป็น 2 มุมใหญ่ๆ เลยคือ อันดับหนึ่งความยั่งยืนในเรื่องของ Aesthetic คือเรื่องของความสวยงาม อาคารที่จะยั่งยืนควรอยู่ร่วมกับสังคมและสภาพแวดล้อมนั้นได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่ฉาบฉวย ในการออกแบบเราต้องการให้งานออกมา timeless ดังนั้นคีย์หลัก ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของ simplicity ที่เป็นเรื่องของการใช้วัสดุที่ไม่จำเป็นต้องหลากหลาย สีไม่ต้อง colorful นัก ผมจะชอบวัสดุที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ เป็นโทนสีที่สบายตา ต้องเป็นอาคาร architecture ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ดี
ประเด็นที่ 2 ก็หนีไม่พ้นความทนทานหรือการอยู่ได้นานครับ ผมคิดว่ามันมาจากเรื่องของ construction ที่โดยทั่วไปแล้ว อาคารที่อยู่มานานแล้วส่วนมากอยู่ในยุโรป ด้วยสภาพอากาศที่เย็นแล้วส่วนมากที่เห็นคือเป็นหิน วัสดุที่ก่อสร้างด้วยหินหรือคอนกรีตเนี่ย ส่วนมากจะอยู่ได้นาน นอกจากจะใช้วัสดุที่อยู่ได้นานแล้ว มีความเป็นธรรมชาติแล้วอีกประเด็นคือไม่ปล่อยสารพิษ เป็น Non toxic material อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
เพราะว่าปัจจุบันทางเลือกของวัสดุมีเยอะและมีวัสดุทดแทนเยอะมากขึ้น สิ่งที่สำคัญคือต้องเคลมได้ว่า งานสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนควรจะต้องใช้วัสดุที่นอกเหนือจากความทนทานแม้ว่าจะไม่ใช่วัสดุจากธรรมชาติเสมอไปแต่ต้องเป็นวัสดุที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ดี อยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมของแต่ละเมืองได้ดี โดยที่ไม่ปล่อยความเป็น toxic ออกมา และถ้าต่อยอดเรื่องของ Carbon footprint ที่น้อยลงได้ ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สถาปัตยกรรมนั้นยั่งยืนได้
Project : MASON
Q : แล้วแบบนี้สถาปนิกต้องปรับตัวสู่ยุค Net zero ยังไงดีครับ?
คุณวสุ : การปรับตัวแรกคือหาความรู้ใหม่ๆ ทำความเข้าใจว่า Net Zero มีมุมไหนบ้าง หนึ่งเลยจะต้องเป็นเรื่องไม่ไกลเกินตัว ใครก็เข้าถึงได้ สองคือนอกจากสถาปนิกรู้แล้วต้อง educate คนรอบข้างเราได้ด้วยคือลูกค้า เป็นคนที่ตัดสินใจในโปรเจกต์ที่เราออกแบบ สามารถ convince กับเจ้าของโปรเจกต์ได้ เพื่อให้เขาเชื่อในสิ่งที่ทำเรา และเป็นหนึ่งในตัวแปรที่จะทำให้เกิด Net zero ที่เร็วขึ้น เราต้อง convince เรื่องของการใช้วัสดุที่เป็น Low carbon footprint กับการแลกเงินที่ลงทุนไปในโปรเจกต์ที่ออกแบบขึ้นมา
ผมคิดว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับตัวของสถาปนิก เพราะว่าในการทำงานจะหนีไม่พ้นเรื่องของการสื่อสารกับลูกค้าเรื่องการโน้มน้าวให้ลูกค้าเชื่อในสิ่งที่เราทำ รวมถึงสิ่งที่เราเลือกด้วย
Project : Overlapping House
Q : และใกล้ๆ นี้ ทั่วโลกก็บอกว่าเราต้องไปเรื่อง Low carbon ให้ได้ก่อน ทางคุณวสุที่จะต้องบริหารทีมงานมีนโยบายอะไรเกี่ยวกับเรื่อง Low carbon บ้างไหมครับ?
คุณวสุ : นอกเหนือจากการเอื้อต่อสภาพแวดล้อมแล้วหรือว่าเอื้อต่อบริบทในแต่ละที่ที่เราออกแบบเนี่ย ผมคิดว่าการสเปควัสดุเป็นสิ่งที่เราค่อนข้างใส่ใจ ตอนนี้เราจะไม่เลือก material ที่ไว้ประกอบอาคารต่างๆ เราจะไม่เลือกสิ่งที่มีความเป็น toxic อย่างการใช้ไม้เป็นวัสดุที่เกิด cycle ของเมืองที่ยืนยาว ไม่สร้างผลกระทบ ไม่ปล่อยคาร์บอนด้วย ทีนี้วัสดุที่มี cement base เนี่ยค่อนข้างยาก เพราะทุกโปรเจกต์ต้องใช้อยู่แล้ว พวกการทำพื้น คาน พวกงานโครงสร้างอาคาร อันนี้เป็นสิ่งที่ยากมาก แต่ตอนนี้ก็จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ มาซึ่งอาจเป็นทางออกสำหรับเรื่องนี้ได้
ส่วนเรื่องการออกแบบก็ค่อนข้างแคร์เรื่องการทำให้โป เราค่อนข้างแคร์เรื่องของการทำให้อาคารปล่อยคาร์บอนได้ใกล้เคียงหรือเป็นอาคารที่ลด Carbon footprint ให้ได้มากที่สุด และจะบอกกับทีมงานว่าตอนนี้ในยุโรปนั้นเริ่มแล้ว กฏหมายของอาคารที่ออกแบบจะต้องมีเรื่อง Low carbon footprint ก็จะมีส่วนแจ้งและจะเริ่ม educate กับทีมต่อไปและเริ่มีคุยเรื่องวัสดุกราฟีนกับทีมแล้วด้วย จะได้มีอะไรใหม่ๆ มาออกแบบร่วมกับทีม ผมว่านี่เป็นนวัตกรรมใหม่จริงๆ
Project : Pak Phanang Wind Park Community Center
Q : ทีนี้พูดเรื่องเทคโนโลยีกันบ้างครับ พอตอนนี้มีเรื่อง AI ที่ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น แล้วถ้า AI เข้ามามีบทบาทในวิธีการทำงานของสถาปนิก คิดว่าจะเป็นยังไงครับ?
คุณวสุ : ส่วนตัวแล้วผมมองว่าเมื่อก่อน AI เข้ามาแทรกซึมจนทำให้งานบางประเภทนั้น คนที่ทำงานในสายนั้นลดลงไปเยอะ ทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนสายงานกันไป อย่างถ้าเราออกแบบ graphic design ออกแบบ logo หรือนามบัตรอย่างเดียว ปัจจุบันอาจทำแค่นั้นไม่ได้แล้ว เพราะ AI ทำได้หมดแล้ว จากที่เราเห็นกันมา
แต่ในสายงานอินทีเรียและสถาปนิก ผมยังเชื่ออยู่ว่ายังเป็นงานที่ยังอยู่รอด จากการที่ต้องให้ AI ทำหมด เพราะผมมองว่า AI ทำภาพสวยๆ ได้ generate ภาพออกมาได้ เป็น inspire มีประโยชน์ในการสร้าง visual impact ให้กับคนที่เห็นงานแล้วรู้สึก appreciate กับงาน architecture ได้ในระยะเวลาที่สร้างรูปออกมาได้เร็วขึ้น ซึ่งบางทีการใช้ AI อาจเป็นการ prediction รูปออกมาว่าในอนาคตหากออกแบบไปแล้วจะเป็นอย่างไร
และผมก็ยังเชื่อว่า AI ยังทำงานทดแทนสถาปนิกหรือสายงานแบบ craft worker ไม่ได้ ตราบใดที่ robot ยังสร้างตึกเองไม่ได้ ก็ยังมาแทนไม่ได้ รวมทั้งเรื่องของความ craftmanship ที่ยังทำแทนไม่ได้ เราก็ยังต้องใช้คนอยู่ดี แล้วก็เรื่องของความเป็นสถาปนิกที่ผมเชื่อว่าในแต่ละพื้นที่จะมีความ specific ที่ไม่เหมือนกัน ต่อให้เราโยนข้อมูลเรื่องสภาพแวดล้อมเข้าไป สุดท้ายตัวเราเองก็ต้องเป็นคนที่ lead อยู่ดี เพื่อ collab กับทุกคนในการสื่อสาร เพราะผมเชื่อว่า AI คือ tool ที่เข้ามาช่วยทำมากกว่ามาแทนที่ เพียงแต่ว่า AI มีบทบาทมากขึ้น
แล้วสุดท้ายคือการลงมือทำจริง ถ้า AI ออกแบบมาแล้วเราจะทำโปรเจกต์นั้นให้เป็นจริงได้หรือเปล่า บางอันอาจมีความเป็นไปได้ที่น้อยอยู่ ก็ต้องดูกันไป ให้วิศวกรมาช่วยดูความเป็นจริงว่าการสร้างขึ้นมาจะทำได้หรือไม่ เป็นไอเดียที่เกินธรรมชาติของการก่อสร้างไหม
และทั้งหมดนี้ก็คือบทสนทนากับสถาปนิกผู้ไม่หยุดนิ่งกับการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรม
Vaslab Architecture
ขอขอบคุณ
คุณวสุ วิรัชศิลป์ (สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง VaSLab) Vaslab Architecture
ขอบคุณรูปประกอบ