Eco Friendly Design คือ การออกแบบอาคารที่นำพลังงานธรรมชาติมาหมุนเวียนใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการปล่อยให้อากาศธรรมชาติเข้าไปไหลเวียนภายในอาคารให้มากที่สุด เพื่อลดความร้อนและเปลี่ยนถ่ายอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารตลอดเวลา ซึ่งเป็นลักษณะการออกแบบที่เหมาะกับบริบทสภาพแวดล้อม และภูมิอากาศเขตร้อนชื้นแบบประเทศไทยเป็นอย่างมาก
เทคนิคการออกแบบอาคารในพื้นที่เขตร้อนชื้นแบบประเทศไทย เพื่อให้มีสภาวะสบายในการอยู่อาศัยนั้น จะต้องพิจารณา และคำนึงถึงปัจจัย หรือหลักเกณฑ์ในการออกแบบที่มีความสำคัญ ประกอบด้วย
วางตำแหน่งอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดด และกระแสลม ควรหลีกเลี่ยงการหันหน้าอาคารไปทางทิศตะวันตก และทิศใต้ เพราะต้องเผชิญความร้อนสูง 2/3 ของปี
หลีกเลี่ยงการเจาะช่องเปิดหรือช่องหน้าต่างเกิน 20% ในทิศที่ได้รับผลกระทบจากความร้อน และแสงจ้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาะทิศใต้และทิศตะวันตก
ต้องมีช่องเปิดที่เพียงพอ และเหมาะสม เพื่อการถ่ายเทอากาศที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค
ทำผนังสองชั้น ในจุดที่ตัวบ้านจะต้องโดนความร้อนสูง โดยเฉพาะทิศใต้ และทิศตะวันตก เพื่อรักษาความสมดุลของอากาศภายในบ้าน ช่วยป้องกันแสงจ้า และความร้อนจากแสงอาทิตย์
ทำกันสาด หรือระแนงกรองแสง เพื่อกรองแสงให้กับหน้าต่างกระจก หรือ ช่องเปิด
ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน เพื่อช่วยดูดซับความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน
ติดตั้งผ้าม่านหรือมู่ลี่บริเวณหน้าต่างกระจก และอุดรอยรั่วตามรอยต่อระหว่างผนังขอบประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันไอความร้อน
ไอเดียการใช้บล็อคผนังตกแต่งในงานออกแบบ Eco Friendly Design
1. Double Skin Wall and Facade
ใช้บล็อคผนังตกแต่งในการทผนังชั้นที่ 2 เพื่อช่วยป้องกันความร้อนก่อนเข้าถึงตัวอาคาร แต่ก็ยังมีช่องให้อากาศหมุนเวียนไหลผ่าน และมีแสงสว่างส่องผ่านเข้ามาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศ และไฟส่องสว่างภายในอาคารได้
2. Interior Partition Wall
ใช้บล็อคผนังตกแต่งทำผนังกั้นภายในอาคาร เพื่อแบ่งพื้นที่การใช้งานภายในอาคาร แต่ก็ยังสามารถให้อากาศไหลผ่านได้ ทำให้อากาศสามารถหมุนเวียนถ่ายเทได้อย่างสะดวก ช่วยลดความอับชื้น และการสะสมของเชื้อโรค
3. Friendly and Serene Space
ใช้บล็อคผนังตกแต่งสร้างความสวยงาม และความปลอดโปร่งให้กับตัวอาคาร ช่วยลดความทึบตันอึดอัด ทำให้พื้นที่การใช้งานมีความโปร่งสบาย และทำให้รู้สึกกว้างมากขึ้น
นี่คือไอเดียง่ายๆ และไม่ซับซ้อนเกินไป ซึ่งทุกๆท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานออกแบบ หรือ การตกแต่งอาคารของท่านได้ตามความเหมาะสม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่
Inbox Page : InnovatorX
Line OA : @innovatorx