วัสดุมุงหลังคาและกันสาด มีให้เลือกหลายชนิดในท้องตลาด เช่น เมทัลชีท, ไฟเบอร์กลาส, โพลีคาร์บอเนต และไวนิล ปัจจัยสำคัญในการเลือกวัสดุมุงหลังคา คือคุณสมบัติของวัสดุที่ตอบโจทย์ความต้องการและฟังก์ชั่นการใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลัก ใครที่กำลังต้องการสร้างบ้าน ติดกันสาด ต่อเติมครัวไทยและโรงจอดรถ อาจจะมองหลังคาไวนิลเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับการต่อเติมบ้านที่คุณรัก
ด้วยจุดแข็งที่เนื้อวัสดุหลังคาไวนิลเป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงในตัว จึงทำให้เหมาะสมที่จะใช้ติดตั้งเป็นหลังคาอย่างมาก เพราะช่วยลดการดูดซับความร้อนและลดอุณหภูมิสะสมใต้หลังคา ทำให้รู้สึกร่มเย็นสบาย เวลาเจอฝนตกหนักๆ ก็ไม่สะเทือน ไม่บวมน้ำ แล้วยังช่วยซับเสียงฝนไม่ให้ดังรบกวนเข้ามาภายในบ้าน ทั้งยังแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทก ไม่มีปลวกแมลงเชื้อรารบกวน ดูแลรักษาง่าย อายุการใช้งานยาวนานเป็นสิบๆปี จึงเป็นสาเหตุที่หลายคนเลือกใช้ เพราะติดตั้งครั้งเดียวจบ ช่วยประหยัดเวลาและค่า Maintenance คุ้มค่าการลงทุนระยะยาว
และเพื่อให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ วันนี้ตราภูเขา จะมาแชร์เทคนิคการติดตั้งหลังคาไวนิลที่ถูกต้อง พร้อมกับบอกวิธีป้องกันปัญหาน้ำฝนย้อนกลับที่ใครๆ อาจกังวลกันครับ จะมีวิธียังไงบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้ครับ
ก่อนที่จะแนะนำเทคนิคติดตั้งหลังคาไวนิล จะขอรีวิวสั้นๆ ว่าแผ่นหลังคาไวนิล ของแบรนด์ภูเขา มีคุณสมบัติเด่นๆ อะไรบ้าง อายุการใช้งานนานเกิน 10 ปี
หลังคาไวนิล ผลิตจาก UPVC เกรดพรีเมี่ยมที่ใช้เทคโนโลยี Celluka Foam ในการขึ้นรูปจากประเทศเยอรมันนี ตามมาตรฐานการผลิต ISO9001 ทำให้ตัวหลังคามีความทนทานและอายุการใช้งานนานกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ ดูแลรักษาง่าย ไม่ผุ ไม่บวม ตัดปัญหาเรื่องปลวก แมลง และเชื้อรารบกวน
ให้ความเย็นสบาย
ไวนิลเป็นฉนวนกันความร้อนและไม่ลามไฟอีกด้วย ถ้าเปรียบเทียบกับวัสดุเมทัลชีท หลังคาที่ติดตั้งด้วยไวนิลจะมีความเย็นกว่า โดยอุณหภูมิต่ำกว่าประมาณ 5 องศาเซลเซียส ทำให้ติดตั้งไปแล้วรู้สึกเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว
เก็บเสียงได้เงียบกว่า
นอกจากเป็นฉนวนกันความร้อนแล้วยังเป็นฉนวนกันเสียง ช่วยซับเสียงฝนที่ตกกระทบหนักๆ ให้เบาลง เทียบเป็นสัดส่วนแล้ว ไวนิลจะเก็บเสียงได้เบาลงอีก 7%
คำแนะนำในการติดตั้งแผ่นหลังคาไวนิล ตราภูเขา ที่นิยมใช้ทำหลังคาโรงจอดรถและครัวไทยหลังบ้านครับ โดย ตราภูเขา ขอเผย 3 เทคนิคนี้
1. ลงเสาเข็มป้องกันปัญหาพื้นทรุดฉุดหลังคารั่ว
เพราะบ้านจัดสรรส่วนใหญ่ไม่ลงเสาเข็มให้บริเวณหน้าบ้านและพื้นที่รอบๆบ้านเลย ซึ่งจะลงเสาเข็มให้เฉพาะตัวบ้านเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน พื้นรอบๆบ้านก็จะทรุด ถ้าเราไม่ลงเสาเข็มก่อนต่อเติม โครงหลังคาที่เราติดตั้งไปก็มีโอกาสจะเสียรูป เป็นสาเหตุให้มีปัญหาหลังคารั่วซึ่มตามมา ส่วนเสาเข็มก็มีให้เลือกหลายชนิดและหลายความลึก เช่น เข็มเหล็ก เข็มไมโครไพล์ ควรเลือกให้เหมาะกับสภาพพื้นดินของบ้านเรา
2. โครงหลังคาต้องแข็งแรง เว้นระยะต้องเหมาะสม
ต่อด้วยการเลือกใช้โครงเสาเหล็ก อย่าลืมที่จะเลือกเสาเหล็กที่ชุบเคลือบกัลวาไนซ์ไว้ป้องกันสนิมจะได้ใช้งานยาวๆ ไม่สึกหรอ ส่วนเหล็กจันทันควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 2"X 4" และ ความหนาไม่น้อยกว่า 2 มม. ถ้าหน้างานพบว่าความยาวของหลังคาเกินกว่า 6 เมตร ควรเพิ่มขนาดเหล็กจันทันไว้รองรับ และอีกเทคนิคคือการเว้นระยะแปที่จะติดตั้งแผ่นหลังคาไวนิลให้สัมพันธ์กับระยะห่างของจันทัน
หลังคาสีขาว ควรเว้นระยะแป 40 ซม.
หลังคาสีอื่นๆ ควรเว้นระยะแป 30 ซม.
แปส่วนหัวท้าย ควรวางเป็นแปคู่ ห่าง 15 ซม.
3. ติดตั้งรางน้ำฝนให้ครบ จบปัญหาน้ำฝนไหลย้อนกลับ
อีกอย่างที่อยากแนะนำคือ ต่อให้ทำหลังคาที่ลาดเอียงอย่างน้อย 5 องศาแล้วก็ตาม แต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำฝนรั่วซึมไหลย้อน ควรปิดท้ายด้วยการติดรางน้ำฝนเพื่อควบคุมทิศทางของน้ำให้ไหลไปตามทางเดียวกันแล้วระบายออกจนหมด ที่สำคัญควรเลือกรางน้ำฝนที่มีอายุการใช้งานนานๆ ไม่เป็นสนิม ซึ่งตัวรางน้ำนี้ก็สามารถเลือกไวนิลได้เช่นกันครับ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
Line OA : @innovatorx หรือ https://www.facebook.com/InnovatorXbyWazzadu