top of page
Writer's pictureInnovatorX

Leeza SOHO/Zaha Hadid Architects ประติมากรรมในคราบสถาปัตยกรรมยุคใหม่ กลางเส้นขอบฟ้าของกรุงปักกิ่ง



สำหรับท่านที่สนใจด้านนวัตกรรมอาคารและงานสถาปัตยกรรม ในบทความนี้ผมจะพาไปชม นวัตกรรมการออกแบบจาก Zaha Hadid Architects กับโปรเจกต์ Leeza SOHO Beijing ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเสมือนประติมากรรมในคราบสถาปัตยกรรม ที่เป็น Iconic ยุคใหม่ของกรุงปักกิ่ง


ก่อนจะไปดูว่านวัตกรรมของสถาปัตยกรรมแห่งนี้ มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ?


ลองคิดภาพตามนะครับว่าทำไมประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นอารยะมักจะมีการสร้างสถาปัตยกรรมที่ต้องออกแบบอย่างปราณีตและใช้งบประมาณการก่อสร้างไปมากมาย  สิ่งสำคัญเพราะอาคารเหล่านี้ไม่ใช่แค่การสร้างขึ้นมาเพื่อแค่ประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่เท่านั้น  


แต่มัน คือ การสร้างสุนทรียภาพของเมือง และเป็นการค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ ของการออกแบบและการก่อสร้างอาคารไปในตัว

สำหรับประเทศจีน เมืองหลวงสำคัญ คือ ปักกิ่ง เป็นเมืองที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากมาย งานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจึงเสมือนการสร้างแบรนด์ของเมืองปักกิ่งไปในตัวด้วย


โปรเจกต์ Leeza SOHO อาคารสำนักงานแห่งใหม่ในกรุงปักกิ่ง มีเป้าหมายจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของกรุงปักกิ่ง โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้


ชื่อโครงการ : Lize SOHO  ปักกิ่ง

พื้นที่ไซต์ : 30,688 m2

พื้นที่รวม : 172,800 m2 (1,860,000 ตารางฟุต)

ความสูง : 200 เมตร (50 ชั้น - 46 เหนือพื้นดิน, 4 ใต้ดิน)

ปีที่ก่อสร้างโดยประมาณ : 2558 - 2562

ต้นทุนการก่อสร้าง : 288 ล้านเหรียญสหรัฐ


และผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมแห่งนี้ ประกอบด้วย


สถาปนิก : Zaha Hadid Architects

ผู้อำนวยการโครงการ : Satoshi Ohashi 

วิศวกรโครงสร้าง : Bollinger + Grohmann , CABR (สถาบันวิจัยอาคารแห่งประเทศจีน), BIAD (สถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมปักกิ่ง) 

ผู้รับเหมาก่อสร้างอาคาร : Lingyun, Yuanda





เทคโนโลยีที่ทำให้ Leeza SOHO มีความโดดเด่นเฉพาะตัว และเป็นเสมือนประติมากรรมในคราบสถาปัตยกรรมยุคใหม่ กลางเส้นขอบฟ้าของกรุงปักกิ่ง 


Building Tech Key Highlight  


  1. Zaha Hadid Architects ออกแบบพื้นที่ในส่วนเอเทรียมใจกลางอาคาร ด้วยการใช้เทคโนโลยีโครงสร้างแบบเกลียวคู่ที่สูงที่สุดในโลก 198 เมตร โดยรูปทรงโครงสร้างถูกออกแบบให้ล้อไปกับลักษณะของเกลียว DNA ที่มีการบิดอย่างอิสระ  ซึ่งในการออกแบบหากมองในอีกมุมหนึ่งภาพที่เราเห็นจะมีความคล้ายกับนักเต้นที่สง่างาม และยืนตระหง่านตา กลางกรุงปักกิ่ง 


โครงสร้างแบบเกลียวคู่ ถือเป็นนวัตกรรมที่รวมทั้งความงดงามสถาปัตยกรรมและความก้าวหน้าทางวิศวกรรมเข้ามาไว้ด้วยกัน




2. เอเทรียมอันงดงามแห่งนี้ถูกมองว่าเป็นพื้นที่สาธารณะในร่มแห่งใหม่สำหรับเมือง โดยทำหน้าที่เชื่อมต่อ Space ภายในอาคาร กับ Plaza ภายนอกอาคาร


3. การออกแบบแสงสว่าง เป็นการทำงานร่วมกันกับสถาปนิกหลัก และบริษัท Leuchte ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแสงสว่างทางสถาปัตยกรรม โดยคอนเซปต์หลักคือ เกลียวที่บิดคู่กันไปจะเปิดพื้นที่ในส่วนกลางของแต่ละชั้น เพื่อให้สามารถเพลิดเพลินไปกับแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านห้องโถงโปร่งใสที่มีความสูงเกือบ 200 เมตร และทำให้มองเห็นทัศนียภาพของเมืองได้อย่างต่อเนื่องและมีมิติที่แปลกตาออกไป





4. การออกแบบเชิงประสบการณ์ เพื่อสร้างมุมมองที่ทำให้ผู้เข้าใช้งาน เมื่อมองขึ้นไปจากด้านในของอาคาร เส้นสายตาจะวนขึ้นไปตามเส้นเกลียว ไฮเปอร์โบลา DNA ราวกับว่าคุณกำลังยืนอยู่ในอาคารจากอนาคตและให้ความรู้สึกตื่นตาตื่นใจ เป็นการสะท้อนถึง City Branding ของกรุงปักกิ่ง 



5. การออกแบบสถาปัตยกรรมให้เป็น Iconic หรือ Landmark ของเมือง โดยรูปแบบของการออกแบบ ได้ถูกคิดให้สอดคล้องกับบริบทของเมืองโดยรอบ  โดยส่วนเอเทรียมจะบิด 45 องศาเพื่อให้สอดคล้องกับแกนถนน เมื่อมองจากมุมภายนอกจะเห็นอาคารนี้เด่นตระหง่านเลยทีเดียว  


Leeza SOHO Beijing ถือเป็นอีกผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าในเชิงนวัตกรรมของอาคารในระดับโลกเลยก็ว่าได้ หวังว่าเราจะได้เห็นอาคารแบบนี้ในประเทศของเราบ้างครับ


 

บทความโดยกองบรรณาธิการ InnovatorX lab


 

อ้างอิง

 

ติดต่อลงโฆษณา หรือ ติดต่อธุรกิจได้ที่

Line OA : @innovatorx หรือ https://www.facebook.com/InnovatorXbyWazzadu

bottom of page