ไม่จำเป็นต้องสูงและใหญ่กว่า...แต่มันต้องท้าทายทุกกฏของสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม
ท่านชีค คาลิฟา บิน ซายึด อัล นายาน เจ้าครองนครรัฐอาบู ดาบี มีวิสัยทัศน์อยากให้เมืองของพระองค์มีความทันสมัย ท่านชีคประสงค์จะสร้างอาคารที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์ในระดับนานาชาติสำหรับกรุงอาบู ดาบี (ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
"อาคารแห่งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจ และศิลปะสำหรับผู้คนทั่วโลก"
ทีมสถาปนิก RMJM architects ได้มองหาแรงบันดาลใจจากทิวทัศน์ของอาบู ดาบี พวกเขาพบมันในสายลมอุ๋นที่พัดผ่านเนินทราย และเกลียวคลื่นที่ซัดชายฝั่งในอ่าวเปอร์เซีย สายลม และน้ำเป็นจังหวะแห่งธรรมชาติที่ลื่นใหล ซึ่งได้ถูกพัฒนาเป็นรูปฟอร์มอาคารรูปทรงเกลียว ที่ตั้งตระหง่ายสูงจากพื้น 162 เมตร จากรูปทรงอันพิเศษของอาคารจึงไม่มีมุมไหนของตึกนี้ที่เท่ากันเลยแม้แต่ชั้นเดียว และยังเป็นอาคารระฟ้าที่ท้าทายแรงดึงดูดของโลก มากกว่าหอเอนปิซ่าในอิตาลี ถึง 5 เท่า โดยเป็นอาคารที่น่าทึ่งแห่งหนึ่งที่โลกเคยมีมา
ปัญหาเดียวที่พบในการสร้างตึกแห่งนี้ คือ ไม่มีใครพยายามสร้างตึกระฟ้าแบบนี้มาก่อน
การจะสร้างตึกระฟ้าที่ต้านทานแรงโน้มถ่วงของโลกได้ จึงจำเป็นต้องมีระบบวิศวกรรมแบบพิเศษ ซึ่งด้านบนสุดของอาคารที่ต้องเอียงสูงจากพื้น 33 เมตร สร้างแรงดันมหาศาลที่จะทำให้ฐานรากอาคารหลุดจากพื้น การควบคุมให้ตึก Capital Gate ตั้งได้ เป็นความท้าทายทางวิศวกรรม ที่ต้องการเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก จึงจำเป็นต้องใช้ฐานราก ,ตอม่อ และเสาเข็มที่หล่อปูนแบบพิเศษกว่า 400 ต้น ฝังลงใต้ดินในระดับความสูงที่ไม่เท่ากัน เพื่อเฉลี่ยแรงดันในแต่ละด้านของตึกให้เกิดความสมดุล เนื่องจากตึกนี้มีความเอียงมาก จึงต้องใช้วิธีก่อสร้างที่แตกต่างจากตึกระฟ้าทั่วไป
เพราะความเอียง และแรงดันที่มีมหาศาลจะทำให้แกนอาคารระฟ้าแบบทั่วไปปริแตก จนถึงขั้นวิบัติทางโครงสร้างได้ Capital Gate จึงต้องใช้แกนอาคารที่ออกแบบมาเป็นพิเศษที่โค้งงอในทิศทางต้านกับการเอียงของอาคาร หรือที่เรียกว่า "แกนทรงกระดูก" ซึ่งถูกเสริมด้วนเส้นเหล็กอัดแรงดันในแนวดิ่งเข้าไปในแกนด้วย เพื่อยึดไม่ให้แกนอาคารแตกออกจากกัน
ในขณะที่โครงสร้างผนังอาคารภายนอก จะใช้ระบบ Diagrid System หรือ Diagrid Structure โดยมีลักษณะโครงสร้างเป็นเฟรมถักรัดด้านนอกของตัวอาคาร สามารถช่วยรับแรงกระทำได้ดี จึงมีผลทำให้ภายใน Core ของอาคารมีเสาเพียงไม่กี่ต้น โดยเป็นผลดีในเรื่องการได้ Space การใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น
ด้วยรูปทรงของอาคารแห่งนี้ค่อนข้างเอียง และเป็นทรงเกลี่ยว ที่ไม่เหมือนกันแม้แต่มุมเดียว พื้นผิวรูปทรง และกรอบหน้าต่างอาคารจึงมีความซับซ้อน และแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงต้องใช้กระจกแบบสามเหลี่ยมกว่า 26,000 แผ่น ที่มีคุณสมบัติหมุนได้สามทิศทาง เพื่อนำมาประกอบกันซึ่งห้ามพลาดแม้แต่ 1 มิลลิเมตร โดยกระจกที่นำมาติดตั้งผ่านการทดสอบภายในห้องแลปมาแล้ว ทั้งการทนต่ออุณภูมิที่เปลี่ยนแปลงฉับพลันในภูมิอากาศแบบทะเลทราย ,การกันน้ำรั่วซึม ,การต้านแรงลม และการป้องกันความร้อน
อ้างอิง
ติดต่อลงโฆษณา หรือ ติดต่องานได้ที่
Line OA : @innovatorx