ปกติแล้ววัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างมักเป็นเหล็กซะส่วนใหญ่ ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทานและรับน้ำหนักของโครงสร้างได้เยอะ แต่ทราบกันหรือไม่ว่ายังมีอีกวัสดุที่ใช้ทดแทนเหล็กได้เช่นกัน
วัสดุนั้นมีชื่อว่า GFRP (Glass fiber reinforced polymer) เป็นวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส หรือบางคนอาจเรียกว่า เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส ผลิตจากโพลิเมอร์ผสมเส้นใยเสริมแรงคอนกรีตที่ผ่านขบวนการดึงขึ้นรูปคล้ายการทำเชือกและอาจมีการผสมสีแตกต่างกันไป
GFRP ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกโลกเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินในช่วงปี ค.ศ.1940 และหลังจากนั้นถูกพัฒนาไปใช้ในกองทัพและอุตสาหกรรมเรือและในสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ.1984 ซึ่งใช้งานกับคอนกรีตเป็นครั้งแรกโดยบริษัท Kodiak Company เพื่อใช้กับงานโครงสร้างคอนกรีตที่อยู่ใกล้น้ำ และทะเล และถูกสร้างให้เป็นสะพานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 ที่ Mckinley Ville
คุณสมบัติของ GFRP
1. มีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก :
เมื่อเทียบกับเหล็กแล้วจะมีน้ำหนักเพียง 1 ใน 4 ของเหล็ก ทำให้ลดต้นทุนและลดแรงในการขนส่งได้มากกว่าเดิม รวมถึงลดแรงงานในการยก เคลื่อนย้าย จึงทำให้การทำงานเร็วขึ้น และลดน้ำหนักโครงสร้าง
2. ไม่มีผลกระทบจากสื่อแม่เหล็กและสื่อกระแสไฟฟ้า :
ด้วยความที่เป็นเส้นใยพอลิเมอร์ ไม่มีส่วนผสมของเหล็กแต่อย่างใด ทำให้ GFRP ไม่มีผลกับคลื่นแม่เหล็ก จึงสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในพื้นที่ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมีอสื่อสาร เครื่องจักร เช่น สนามบิน, เสาไฟฟ้า, โรงพยาบาล เป็นต้น
3. ไม่เป็นสนิม ทนการกัดกร่อน :
เป็นวัสดุที่ทนทานต่อสภาพเวดล้อมเป็นอย่างดี ทนร้อน ทนชื้น ทนกรด-ด่าง รวมทั้งไอเกลือ จึงสามารถใช้งานกับบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำได้โดยไม่มีปัญหาการเป็นสนิมหรือการผุกร่อน
4. ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ :
มีคุณสมบัติคล้ายเป็นฉนวนที่ไม่สะสมความร้อนและไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ
5. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม :
มีกรรมวิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตเหล็ก จึงเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปในตัว ลดการเกิดมลภาวะทางอากาศหรือการปล่อยคาร์บอนที่น้อยกว่าการผลิตเหล็ก
6. สามารถผลิตตามความยาวที่ต้องการได้ :
GFRP สามารถกำหนดความยาวที่ต้องการใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามการใช้งาน ช่วยลดปัญหาการสิ้นเปลืองวัสดุที่ไม่ได้ใช้และช่วยประหยัดต้นทุนในการก่อสร้าง
การนำ GFRP ไปใช้งาน
ด้วยลักษณะที่เป็นเส้นไว้ใช้งานทดแทนเหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อยและมีจุดเด่นที่ไม่เป็นสนิม จึงเหมาะกับงานก่อสร้างที่อยู่ใกล้ความชื้น ใกล้น้ำ ทนทานต่อสารเคมี เช่น งานท่าเรือ, สะพาน, คลองชลประทานหรือกำแพงกันดิน รวมถึงงานพื้นราบที่เป็นถนน, ลานจอดรถ, พื้นโรงงานโกดัง เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูล
baanlaesuan
maxiswood
และขอบคุณรูปประกอบจาก